“เด็กแคมป์” ตอนที่หนึ่ง : ประวัติศาสตร์และการแสวงหาชีวิตวิไลซ์ของเด็กแคมป์
“ชีวิตวิไลซ์ที่ใครๆก็ฝันถึง” คงไม่ใช่คำที่กล่าวเกินจริงเกินไปนักกับคนทุกคนที่มีความฝันและความหวังว่าต้องการแสวงหาแหล่งลงหลักปักฐานหรือที่ทำมาหากินที่ใหม่ที่ “ดึงดูด” ให้เกิดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านที่ปัก “หมุดหมาย” และข้ามเขตชายแดนมาเพื่อแสวงหาความฝัน แสวงหาที่ทำกิน แสวงหารายได้เพื่อให้ชีวิตเขาเข้าใกล้ “ความวิไลซ์ดั่งในฝัน” แต่ทว่าชีวิตจริงของกลุ่มแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามอย่างบุตรหลานของพวกเขาอาจจะห่างไกลจากความหวังและความฝันอยู่มาก
งานเขียนชิ้นนี้มุ่งกล่าวถึง “เด็กแคมป์” หรือลูกหลายแรงงานข้ามชาติที่ติดสอยห้อยตามพ่อและแม่หรือญาติๆเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ผ่านมุมมองและความสนใจในรายประเด็นประวัติศาสตร์ ความยากลำบากและสิ่งที่พวกเขาต้องเผชิญ โดยใช้ความสนใจของผู้เขียนเป็นตัวตั้งต้น
“เด็กแคมป์ ตอนที่หนึ่ง” นี้จึงมุ่งเน้นการกล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้เด็กแคมป์ติดสอยห้อยตามพ่อแม่มายัง ดินแดนที่พวกเขาเรียกว่า “แดนวิไลซ์” โดยบอกเล่าผ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์อย่าง “ที่มาที่ไปของเด็กแคมป์รุ่นเดอะ” รวมไปถึงปัจจัยที่ทั้งผลักและดึงให้เด็กแคมป์เข้ามาอยู่ในประเทศไทยด้วยหัวข้อที่ว่า “เมื่อทางนั้นผลัก ทางนี้ดึง ฉันจึงเป็นเด็กแคมป์ที่แดนวิไลซ์”
ที่มาของ “เด็กแคมป์” : การติดสอยห้อยตามพ่อแม่มาแดนวิไลซ์
ประเทศไทยนั้นมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมด 4 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชาและมาเลเซียซึ่งมีแนวดินแดนติดต่อกับประเทศไทยมากที่สุดแต่ละจังหวัดมีช่องทางการติดต่อสื่อสาร และการเดินทางระหว่างกันอีกหลายช่องทางส่งผลให้เกิดการขาดประสิทธิภาพอย่างมากในด้านการควบคุม ทําให้ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศหนึ่งในเป้าหมายของแรงงานต่างด้าวที่นิยมเข้ามาทํางานอย่างมากโดย สาเหตุของการลักลอบเข้าเมือง คือ การขาดแคลนแรงงานระดับล่าง (Unskills Labours) ส่งผลให้ ผู้ประกอบการจ้างแรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะแรงงานไร้ฝีมือได้มากขึ้น ทําให้มีการนําแรงงานต่างด้าวผิด กฎหมายมาทํางานในหลายกิจการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจก่อสร้างที่ต้องใช้แรงงานเป็นจํานวนมาก งาน แม่บ้าน งานการเกษตร เป็นต้น ซึ่งผลจากการใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายยังมีส่วนที่ทําให้การบริหาร จัดการเป็นไปอย่างยากลําบากและการเก็บสถิติของแรงงานต่างด้าวไม่สามารถเก็บข้อมูลที่แท้จริงได้
เมื่อพิจารณาถึงการเข้ามาของแรงงานต่างด้าวที่มากขึ้นเป็นผลมาจากการพัฒนาประเทศโดยมุ่งเน้นการ เป็นประเทศฐานการผลิตในระบบอุตสาหกรรมเปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น แรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายถึงเพิ่มขึ้นทุกปีและเป็นผลให้รัฐบาลไทยจําเป็นที่จะต้อง สร้างระบบการจัดการแรงงานต่างด้าวในระบบการจัดการของภาครัฐที่จะต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงและ สามารถนําไปปฏิบัติงานได้ โดยการปฏิบัติงานนั้นจะต้องครอบคลุมถึงกลุ่มที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมายและผิด กฎหมายทั้งที่อาศัยและทํางานในประเทศ ซึ่งกลุ่มแรงงานเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่รัฐจะต้องให้ ความสําคัญอย่างมากทั้งในด้านสิทธิความเป็นอยู่และการทําให้แรงงานอยู่ในระบบของรัฐ (บุษยรัตน์ กาญจน ดิษฐ์, 2560)
“ปัญหาหนึ่งที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมควรหันมาให้ความสนใจ คือ กรณีของผู้ติดตาม แรงงานต่าง ๆ โดยอากาศในการศึกษาของเด็กในครอบครัวแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ปัจจุบันการได้รับ การศึกษามีอยู่ 2 ลักษณะ คือ การศึกษาจากชั้นเรียนที่ไม่เป็นทางการที่จัดขึ้นกันเองในแรงงานต่างด้าวผิด กฎหมายและการได้เข้าเรียนในสถานศึกษาของไทยเนื่องจากแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาทํางานอย่างผิด กฎหมายมีจํานวนเพิ่มมากขึ้น การให้การศึกษาแก่ลูกของแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบการศึกษาของไทยจึง เป็นไปได้ยากและในขณะเดียวกันการเปิดโอกาสให้เด็กต่างด้าวเข้าสู่ระบบการศึกษาของไทยก็จะมีผลกระทบ. ต่อความมั่นคงของระบบการศึกษาของเด็กไทยด้วย เพราะรัฐจําเป็นที่จะต้องแบ่งงบประมาณที่ใช้ในการพัฒนา การศึกษาในแต่ละปีมาช่วยเหลือเด็กต่างด้าวเหล่านี้ (ภัคสิริ แอนิหน, 2561) ขณะที่ยังมีเด็กไทยอีกจํานวนมาก ที่ขาดโอกาสในการศึกษา ปัญหาผู้ติดตามแรงงานต่างด้าวหรือบุตรหลานแรงงานต่างด้าวจึงไม่ได้รับการพัฒนา ศักยภาพและส่งผลกระทบตามมาอย่างมากมาย”
ย้อนอดีต “เด็กแคมป์รุ่นเดอะ”
หากกล่าวย้อนกลับไปในอดีตช่างต่างชาติเริ่มเข้ามาทํางานในประเทศไทยตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นชาวจีนที่อพยพหนีภัยธรรมชาติ และความอัตคัดขาดแคลน ของประเทศตนเองโดยเข้ามารับจ้างทํางานเป็นกลุ่มกรรมกร เป็นกุลีแบกหาม เป็นกรรมกรในโรงงานเลื่อยไม้ หรือโรงหีบอ้อย เป็นต้น และต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เศรษฐกิจไทยนั้นมีความ รุ่งเรืองอย่างมาก ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายกับหลาย ๆ ประเทศส่งผลให้ชาวต่างชาติเข้ามายังประเทศ ไทยจํานวนมาก เช่น ชาวยุโรป และชาวอินเดียซึ่งมีทั้งเข้ามารับราชการและเข้ามาทําการค้าขายในประเทศ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่าชาวต่างชาติเข้ามาทํางานในประเทศไทย เป็นจํานวนมากและเกิดการแย่งงานคนไทยทําจึงโปรดให้การตรากฎหมายเพื่อจํากัดอาชีพของคนต่างด้าวไว้ หลายฉบับเพื่อควบคุมแรงงานและการทํางาน (อดิศร เกิดมงคล, 2557)
ในอดีตที่ผ่านมาการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าวมีจํานวนมากจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมืองระหว่างประเทศโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแรงงานข้ามชาติระดับล่างที่มาจาก ประเทศเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวที่ได้ขึ้นทะเบียนอย่างถูกกฎหมายมีมากถึง 2.5 ล้านคน และเป็นกลุ่มที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมาย 1.5 ล้านคน และในขณะเดียวกันกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่เข้ามา อย่างผิดกฎหมาย 1.0 ล้านคน ทั้งนี้จํานวนแรงงานดังกล่าวไม่มีจํานวนที่แน่นอนเพราะบางกรณีอาจจะมีการ ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายและข้อมูลดังกล่าวมิได้ปรากฏในทะเบียนอย่างชัดเจน (บุษยรัตน์ กาญจน ดิษฐ์, 2558)
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็กเน้นว่ารัฐภาคีได้ประชุมเกี่ยวกับความรับผิดชอบกรณีบุตร ผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติสะท้อนให้เห็นถึงปรากฏการณ์สําคัญในประเด็นการย้ายถิ่นระหว่างประเทศรวมไปถึง การค้ามนุษย์แต่รายงานหลายฉบับเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติสะท้อนให้เห็นถึงความสําคัญของปรากฏการณ์ ของเด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ (Bangkok International Organization for Migration, 2008) ก่อให้เกิด ปัญหาความขาดแคลนและความยากจนมีความเสี่ยงต่อภาวะของสุขภาพกายและสุขภาพจิต เมื่อเดินทางมาถึงประเทศปลายทางเด็กมักจะประสบปัญหามากมายในการปรับตัวด้วยภาษาของประเทศเจ้า. บ้าน
การศึกษาของ OECD ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา เด็กหลายคนของแรงงานข้ามชาติเหล่านี้กําลังจะ เข้าสู่ตลาดแรงงาน เด็กหลายคนของแรงงานข้ามชาติจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปี เนื่องจากหลายประเทศคาดหวังว่า จะขอความช่วยเหลือในการย้ายถิ่นฐานและหมายรวมไปถึงการกําหนดนโยบาย การทบทวนของ OECD เกี่ยวกับตลาดแรงงานของผู้อพยพ (OECD 2007a, 2008) แสดงให้เห็นว่าตลาดแรงงานนั้นเชื่อมโยงกับการ ย้ายถิ่นซึ่งมีสภาพแวดล้อมในสภาพที่แตกต่างออกไปจากที่เด็กผู้ติดตามแรงงานเคยเจอและยังมีคุณภาพชีวิตไม่ ดีเท่ากับเด็กที่เป็นสมาชิกของประเทศโดยถูกกฎหมาย ประเด็นที่สําคัญ คือ การโยกย้ายที่อยู่จนกระทั่งส่งผล ไปยังคุณภาพชีวิตถือว่าเป็นสถานการณ์แห่งความยากลําบากของผู้อพยพอย่างแท้จริง
เมื่อ “ทางนั้นผลัก ทางนี้ดึง” จึงเป็น “เด็กแคมป์” อยู่แดนวิไลซ์
ปัจจุบันแรงงานต่างด้าวมีมากมายในประเทศไทยจนกลายเป็นความเคยชินและสามารถอธิบายได้อย่าง ชัดเจนว่าปัจจุบันความนิยมใช้แรงงานต่างด้าวมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากคนไทยมีการศึกษาสูงและไม่ทํางาน บางประเทศ คือ งานสกปรก (Dirty) งานอันตราย (Dangerous) และงานที่มีความยากและเสี่ยง (Difficult) เช่น งานก่อสร้าง งานกําจัดสิ่งปฏิกูล เป็นต้น ประกอบกับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามานั้นพยายามที่จะพัฒนา ตนเองให้สามารถทํางานอยู่ในประเทศไทยได้นานขึ้นส่งผลให้สามารถสื่อสารกับนายจ้างได้อย่างรวดเร็ว สามารถทํางานอย่างราบรื่น และมีความรู้ความเข้าใจในงานมากขึ้น
สาเหตุความจำเป็นของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยจากการศึกษาของปณิตา ศรศรี (2557) สามารถอธิบายได้ว่า สาเหตุที่สำคัญสองประการคือ ปัจจัยดึงและปัจจัยผลัก โดยปัจจัยผลัก (Push factors) ของประเทศต้นทาง ประการสำคัญคือการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานที่ต้นทางไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจได้ เช่น การขาดแคลนทรัพยากรในการทำมาหากิน การว่างงาน การมีสงครามกลางเมือง เป็นต้น ในขณะที่ปัจจัยดึง (Pull Factor) ของประเทศปลายทางคือ ความต้องการกำลังแรงงานโดยเฉพาะงานที่มีความเสี่ยง งานอันตรายและงานที่จะต้องเกี่ยวข้องกับความสกปรกและส่วนหนึ่งมาจากความต้องการกำลังแรงงานในระบบอุตสาหกรรมต่าง ๆของประเทศด้วย
ภาพ: เด็กชายชาวจีนและครอบครัวในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ดังที่กล่าวไปแล้วประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ยาวนานในการเป็นที่พํานักของกลุ่มแรงงานข้ามชาติและผู้ อพยพจากประเทศเพื่อนบ้านเนื่องมาจากความขัดแย้งและความยากจนขัดสนในประเทศ ซึ่งในช่วงทศวรรษที่ ผ่านมามีเด็กข้ามชาติหลายแสนคนที่เดินทางมากับพ่อแม่ซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติเพื่อหนี้สถานการณ์ที่ย่ําแย่ ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศต้นทางและปัจจุบันแรงงานเหล่านี้ทํางานอยู่ในภาคธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งทําหน้าที่ใน การขับเคลื่อนประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นในภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและภาคอุตสาหกรรมการบริการ แรงงานจํานานมากมีแนวโน้มในการยืดระยะเวลาการพํานักอาศัยและหลายคนพาลูกหลานมาด้วยซึ่งตรงข้าม กับความเชื่อทั่วไปที่ว่าแรงงานข้ามชาติจะอยู่ที่นี่เพียงชั่วคราว ครอบครัวเหล่านี้พํานักอยู่ในประเทศไทยและมี ส่วนในการถักทอโครงสร้างของสังคมไทยด้วยเช่นเดียวกัน
ในต่างประเทศนั้นจํานวนเด็กที่ลี้ภัยเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าระหว่างปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2559 เด็กเหล่านี้ ย้ายถิ่นด้วยเหตุผลหลายประการเหตุผลหนึ่งคือการที่พ่อแม่ย้ายถิ่นและไม่สามารถตอบสนองความต้องการ พื้นฐานของเด็กได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่อพยพไม่จดทะเบียนหรือแอบอ้างซึ่งประเทศไทยยังคงเผชิญกับ ความท้าทายในการต่อสู้กับการใช้แรงงานเด็กจากการค้ามนุษย์
จากการศึกษาวิจัยกลุ่มเด็กที่อาศัยอยู่ในที่พักคนงานก่อสร้าง ซึ่งพ่อแม่จํานวนมากที่เข้ามาทํางานใน ประเทศไทยนําลูกหลานของตนเองมาด้วยหรือบางคนก็มีลูกขณะที่มาอยู่และทํางานในประเทศไทย แรงงานใน ภาคก่อสร้างของไทยมีแรงงานหญิงอยู่จํานวนไม่น้อย (Napier, 2016) ซึ่งอาจจะทําให้อัตราการมีบุตรสูงขึ้นใน กลุ่มของผู้ใหญ่กลุ่มนี้ กลุ่มพ่อแม่เหล่านี้มักจะอาศัยอยู่กับลูก ๆ ในที่พักชั่วคราวเมื่อพวกเขาทํางานก่อสร้างใน ประเทศไทย โดยที่พักชั่วคราวเหล่านี้มักจะอาศัยกับลูกซึ่งสภาพความเป็นอยู่ในการดํารงชีวิต ซึ่งส่งผลต่อ ความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานของแรงงานข้ามชาติและลูกที่ถือว่าเป็นกลุ่มประชากรที่ต้องเผชิญความเสี่ยงอย่างยิ่งใน แง่ของการใช้ชีวิตและโอกาสในอนาคตและความอยู่ดีมีสุขโดยรวมในการทําความเข้าใจความต้องการของเด็ก เหล่านี้จะต้องมีความถูกต้องและชัดเจน ที่สําคัญคือ ความจําเป็นทางด้านเศรษฐกิจนั้นทําให้เด็กกลุ่มข้ามชาติที่ อยู่นอกบริบทการคุ้มครองของโรงเรียนต้องเผชิญกับสถานการณ์เสียงเด็กที่ไม่ได้อยู่ในโรงเรียนยิ่งเสี่ยงต่อการ เป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ที่จะนําเด็กไปทํางานยังที่ต่าง ๆ ที่มีอันตรายสูง ทั้งในงานก่อสร้าง งานบริการ ทางเพศ โดยประเทศไทย พยายามที่จะแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมีเด็กข้ามชาติเป็นเหยื่อ ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นส่วนที่สําคัญที่สําให้เด็กข้ามชาติเหล่านั้นสามารถสร้างประโยชน์แก่สังคมที่ตนเองอยู่และยังคงเป็นกําลังสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เป็นแรงงานที่สามารถอ่านออกเขียนได้ซึ่งมีความสําคัญ อย่างมากในการสร้างความเข้มแข็งต่อศักยภาพของเศรษฐกิจไทย
ปัจจัยเหล่านี้จึงทําให้เกิดความต้องการให้มีการรองรับการศึกษาสําหรับเด็กที่อยู่ในประเทศไทยมากขึ้น รวมถึงมีตัวเลือกทางการศึกษาที่เหมาะสมแก่เด็ก อย่างไรก็ตามมีเพียงเด็กที่ได้ขึ้นทะเบียนในโรงเรียนหรือเด็ก ที่มีพ่อแม่มีเอกสารซึ่งได้รับการตรวยนับอย่างเป็นทางการเท่านั้นส่วนเด็กข้ามชาติที่ไม่ได้เข้าโรงเรียนและไม่มี เอกสารหลักฐานปรากฏกลับปล่อยให้ขาดหายไป (IOM, 2554) ซึ่งช่องว่างดังกล่าวทําให้เกิดอุปสรรคแก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ให้บริการด้านต่าง ๆในการประเมินสถานการณ์เสี่ยงเพื่อตอบสนองความต้องการด้าน การศึกษาที่มีคุณภาพ หากไม่มีข้อมูลดังกล่าวจะทําให้เกิดปัญหาเรื่องความเข้าใจถึงจํานวนที่ถูกต้องของเด็ก ข้ามชาติในประเทศไทย
จากข้อมูลและการย้อนรอยอดีต “เด็กแคมป์รุ่นเดอะ” ทำให้เห็นถึงความน่าสนใจของการเข้ามายังประเทศปลายทางอย่างประเทศไทยที่มุ่งเน้น “การเลี้ยงปากท้อง” เป็นหลัก แม้บางครั้งอาจจะมีเรื่องของเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศวต้นทางเข้ามาเกี่ยวข้องบ้างก็ตาม แต่ความฝันของเด็กแคมป์ไม่ได้หนุดแค่เพียงปากท้องเท่านั้น เขาเหล่านั้นต้องการการพัฒนาตนเอง ต้องการมีตัวตนและต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในประเทศปลายทางด้วยเช่นกัน
จากบทความ “เด็กแคมป์” ตอนที่หนึ่ง : ประวัติศาสตร์และการแสวงหาชีวิตวิไลซ์ของเด็กแคมป์ ที่ได้บอกเรื่องราว ตัวตนและความเป็นมาของเด็กแคมป์แล้ว บทความตอนหน้าผู้อ่านจะได้เห็นภาพมากขึ้นว่า “ชีวิตวิไลซ์ที่คาดหวัง” นั้นเป็นจริงได้หรือไม่ เด็กแคมป์ผู้ติดสอบห้อยตามพ่อและแม่มายังแดนวิไลซ์ต้องเผชิญกับอะไรบ้าง และปลายทางความฝันคือการศึกษาและการพัฒนาตัวตนของพวกเขาจะเป็นไปได้หรือไม่ ติดตามได้ที่ “เด็กแคมป์” ตอนจบ : เมื่อคนเกือบไร้ตัวตนต้องเผชิญปัญหาที่ไม่เป็นดั่งความฝัน
“เด็กแคมป์” ตอนจบ : เมื่อคนเกือบไร้ตัวตนต้องเผชิญปัญหาที่ไม่เป็นดั่งความฝัน
ภาคต่อของ“เด็กแคมป์” ตอนที่หนึ่ง : ประวัติศาสตร์และการแสวงหาชีวิตวิไลซ์ของเด็กแคมป์ ที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของเด็กแคมป์ผ่านมุมมองและความสนใจของผู้เขียนทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และการเข้ามาของเด็กแคมป์ในฐานะผู้ติดสอยห้อยตามบิดามารดาที่เข้ามาแสวงหาชีวิตใหม่ในประเทศปลายอย่างอย่างประเทศไทย
“เด็กแคมป์” ตอนจบ : เมื่อคนเกือบไร้ตัวตนต้องเผชิญปัญหาที่ไม่เป็นดั่งความฝัน ตอนนี้จึงพยายามรวบรวมปัญหาที่เด็กแคมป์จะต้องเผชิญในฐานะของผู้ “แสวงหาความศิวิไลซ์” ที่ไม่ใช่บ้านเกิดของพวกเขา ทั้งเผชิญกับปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน การเข้าถึงสิทธิและการคุ้มครองเด็ก การถูกแยกจากครอบครัวและปัญหาสุขอนามัย โดยเฉพาะปัญหาการเข้าถึงการศึกษาที่ถือว่าเป็นความฝันหนึ่งของเด็กแคมป์ที่นำไปใกล้ความจริง “ชีวิตวิไลซ์” มากขึ้น
ปัญหาของ “เด็กแคมป์” ที่จากบ้านมุ่งสู่แดนวิไลซ์
เด็กในแคมป์คนงานก่อสร้าง (ภาพ: UNICEF)
ปัญหาและความท้าทายของบุตรแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยสามารถจําแนกออกเป็นหลากหลาย สาเหตุ อันประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐาน การคุ้มครองเด็ก การจัดทําเอกสาร การถูกกีดกันความรุนแรงใน ครอบครัว สุขภาพ การศึกษา ซึ่งจากการศึกษาวิจัยของ Save the Children (2014) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- โครงสร้างพื้นฐาน ที่พักคนงานถือว่าเป็นจุดศูนย์รวมของชีวิตของคนที่มาทํางานในประเทศไทย ซึ่งเป็นที่พักชั่วคราวสําหรับคนงานและครอบครัวของพวกเขาและความคงทนของสถานที่เหล่านี้ยังคง น้อยและมีความแตกต่างกันอย่างมากขึ้นอยู่กับขนาดของโครงสร้าง การก่อสร้างที่พักพิงชั่วคราว เป็นไปตามข้อกําหนดภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมอาคารและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ แต่มี รายงานว่าหลายบริษัทหรือนายจ้างจํานวนมากประสบปัญหาในการสร้างที่อยู่สําหรับแรงงาน มีค่าใช้จ่ายสูงและมีความซับซ้อนในการดําเนินงานโครงสร้างของที่พักจึงมีผลอย่างมากต่อการพัฒ. นาขั้นพื้นฐานและความเป็นอยู่ของเด็กในภาพรวม พ่อแม่ของเด็ก ๆรายงานว่าห้องอาบน้ำและห้อง สุขามีไม่เพียงพอและไม่มีการแยกเพศและแออัดเกินไป นอกจากนี้ยังมีรายงานถึงสุขอนามัยและน้ำไม่เพียงพอต่อการทําความสะอาด (Tilleke and Gibbind, 2017)
- การเข้าถึงสิทธิและการคุ้มครองเด็ก เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่เผชิญกับปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้านสิทธิและการคุ้มครองเด็ก การถูกเลือกปฏิบัติ การถูกแยกจากพ่อแม่ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ ความรุนแรงในครอบครัวและเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายจากคนใกล้ชิด แนวโน้มปัญหาที่เกิดขึ้นและเห็นได้อย่างชัดเจนคือการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ์ซึ่งมักจะกินเวลายาวนานเกินกว่าครอบครัวจะแบกรับ เงื่อนไขนี้ถือว่าเป็นเงื่อนไขที่ท้าทายในการเข้าถึงสิทธิและคุณภาพชีวิตของบุตรหลานแรงงานข้ามชาติอย่างมาก
- การถูกแยกจากครอบครัว ซึ่งสามารถพบได้บ่อยในกลุ่มของแรงงานข้ามชาติทั่วโลก (Jampaklay, 2012) เมื่อพ่อและแม่ย้ายถิ่นอาจจะไม่สามารถพาลูกไปด้วยได้ดังนั้นอาจจะต้องพำนักกับญาติหรือสมาชิกในครอบครัวส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ทั้งทางด้านกาย จิตและสังคมของบุตรหลานแรงงานย้ายถิ่น บางกรณีอาจจะถูกทำร้ายร่างกายตั้งแต่เขย่าตัว ผลักและปาข้าวของใส่ ทำให้เด็กกลัวเมื่อตนเองถูกกระทำหรือเห็นคนอื่นกระทำ
- ด้านสุขภาพ บุตรหลานของแรงงานต่างด้าวไม่ได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพของบุตรหลานตนเองมากนั้น โดยเฉพาะการฉีดวัคซีน พ่อแม่บางคนไม่ทราบว่าลูกของตนเองฉีดวัคซีนไปเมื่อใดและยังขาดความรู้ว่าต้องพาลูกตนเองไปฉีดวัคซีนที่ใด เกือบครึ่งหนึ่งของแรงงานข้ามชาติให้ข้อมูลว่าลูกของตนเองไม่มีบัตรผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติเมื่อไม่มีเอกสารแล้วจึงส่งผลกับการดำเนินการเอกสารเกี่ยวกับสุขภาพด้วย
(5) ด้านการศึกษา ในระดับนโยบายพบว่าประเทศไทยได้ผ่านนโยบายทางด้านการศึกษาที่สามารถทํา
ให้เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ (United Nations Children Fund) ซึ่งจะ ได้รับการศึกษาโดยไม่มีข้อยกเว้น แต่ยังคงเป็นที่ทราบกันดีว่าในทางปฏิบัติยังคงมีอุปสรรค บางอย่างเป็นตัวขัดขวางในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กข้ามชาติและเด็ก ไร้สัญชาติ ประกอบไปด้วย การเตรียมความพร้อมในการเข้าเรียน ที่มักจะพบการเลือกปฏิบัติจาก เจ้าหน้าที่ของโรงเรียน ในขณะที่การเข้าโรงเรียนเด็ก ๆ ส่วนใหญ่มักจะเข้าศึกษาโรงเรียนในชุมชน เด็กกว่าร้อยละ 40 ไม่สามารถเข้าเรียนได้เนื่องจากไม่มีเงินเพียงพอสําหรับค่าใช้จ่ายและย้ายที่อยู่ บ่อยเกินกว่าที่จะเข้าเรียนได้
เมื่อปลายทางแห่งความฝันคือ “การศึกษา” ที่อาจจะเอื้อมไม่ถึง
การศึกษาเรื่อง “เส้นทางสู่อนาคตที่ดีกว่า บทวิจารณ์เรื่องการศึกษาสําหรับเด็กข้ามชาติในประเทศ ไทย” โดย Save the Children (2014) ความก้าวหน้าในการดําเนินการเห็นได้จากการเข้าเรียนของเด็กข้าม ชาติในโรงเรียนไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่มีการลงมติเห็นชอบนโยบาย “การศึกษาเพื่อปวงชน” ใน ปี พ.ศ. 2542 และมติคณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2548 กฎหมายไทยระบุว่าเด็กทุกคนไม่ว่าจะมีเชื้อชาติหรือ สถานะใดก็ตามมีสิทธิ์ที่จะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นระยะเวลา 15 ปี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ในส่วนของเด็กข้ามชาติจํานวนร้อยละ 5 ที่เข้าเรียนในศูนย์การเรียนรู้ไม่สามารถตอบสนองความ ต้องการที่ไร้เสถียรภาพและทรัพยากรที่มีจํากัดส่งผลให้เด็กข้ามชาติไม่ได้รับการรับรองใด ๆซึ่งถือว่าเป็นการ จํากัดทางเลือกและโอกาสในการทํางาน เด็กข้ามชาติส่วนใหญ่ที่เข้าเรียนในศูนย์การเรียนรู้มิได้รับการรับรอง ใดๆซึ่งเป็นการจํากัดทางเลือกและโอกาสในการทํางานในอนาคต ซึ่งแม้ว่าจะมีจํานวนเด็กข้ามชาติที่เข้ามา เรียนในโรงเรียนไทยเพิ่มมากขึ้นก็ยังคงมีอุปสรรคในการลงทะเบียนเรียนและการควบคุมจํานวนเด็กข้ามชาติ ในสถาบันเหล่านี้ นอกจากนี้การขาดข้อมูลเกี่ยวกับเด็กแรงงานข้ามชาติยังคงจํากัดด้านการเงิน อุปสรรคด้าน ภาษา การขาดความสม่ําเสมอในการใช้นโยบาย EFA การขาดความตระหนักถึงโอกาสทางการศึกษาของชุมชน รวมไปถึงความรู้สึกว่าถูกแบ่งแยกและการเลือกปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริง ล้วนแล้วแต่เป็นอุปสรรคที่เด็ก ๆจะต้อง เผชิญ
ห้องเรียนในแคมป์ก่อสร้าง (ภาพ: โพสต์ทูเดย์, 2557)
ปัญหาที่สําคัญอีกประการหนึ่งคือการออกจากโรงเรียนกลางคัน พบว่า เด็กข้ามชาติในโรงเรียนไทย ร้อยละ 67 เรียนเพียงระดับประถมศึกษาเท่านั้น ในขณะกลุ่มเด็กข้ามชาติที่เรียนจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอน ปลายมีน้อยกว่าร้อยละ 1 (สํานักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2556) อุปสรรคสําคัญที่สุดคืออุปสรรคทางด้าน ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอนหากนักเรียนไม่เข้าใจสิ่งที่เรียนอาจจะมีแนวโน้มเข้าเรียนหรือไม่สามารถเรียนจนจบการศึกษาได้
“งานวิจัยของ Save the Children (2014) พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า กลุ่มแรงงานข้ามชาติให้ความสำคัญกับการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในหลักสูตรที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน แต่กลับมีนักเรียนที่เป็นกลุ่มแรงงานข้ามชาติจำนวนน้อยมากที่สามารถเข้าเรียนได้”
ปัจจุบันประเทศไทยมีแนวโน้มว่าจะกำหนดนโยบายให้ความสำคัญด้านการศึกษากับเด็กต่างด้าว 2 ประเด็น คือ ด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่และสนับสนุนให้เด็กเป็น “ส่วนหนึ่งของสังคมหรือชุมชน” แต่อย่างไรก็ตามจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่านโยบายของภาครัฐบางส่วนยังคงคลุมเครือและเป็นปัญหาด้านการปฏิบัติ ขาดการศึกษาสถานการณ์อย่างละเอียดรอบคอบส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาและการขับเคลื่อน (สพลกิตติ์ สังข์ทิพย์, 2015)
ท้ายที่สุดแล้วการสนับสนุนด้านการเรียนรู้ของเด็กข้ามชาติโดนการส่งเสริมอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาที่มีมาตรฐาน โดยการให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของบุตรหลานแรงงานข้ามชาติซึ่งถือว่าเป็นประเด็นสำคัญในการเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนช่วยระบบเศรษฐกิจระยะยาว ด้วยการสนับสนุนให้ให้บุตรหลานแรงงานข้ามชาติเข้าถึงโอกาสดังต่อไปนี้ (1) รวบรวมข้อมูลเด็กข้ามชาติที่ถูกต้อง ทันสมัย และเป็นระบบ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม (2) เพิ่มความตระหนักถึงโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาให้แก่บิดามารดาของเด็กและเยาวชนข้ามชาติ และประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงทางเลือกในการเข้าถึงการศึกษารวมไปถึงนโยบายและกำหนดการลงทะเบียนภาคการศึกษา (3) สนับสนุนและใช้ความคิดริเริ่มเพื่อลดอัตราการออกจากโรงเรียน และศูนย์การเรียนรู้ควรมีระยะเวลาที่ยืดหยุ่นเพื่อปรับปรุงโครงสร้างที่เหมาะสมกับเด็กที่มีปัญหาในการเข้าศึกษา (4) ส่งเสริมความพร้อมทางด้านภาษาไทยและสนับสนุนเด็กข้ามชาติที่เรียนในหลักสูตรการศึกษาของไทย (5) ส่งเสริมและขยายต้นแบบของการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและการศึกษานอกโรงเรียนสำหรับเด็กที่ต้องการทำงานและอายุเกินเกณฑ์สามารถเข้าเรียนเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคแก่เด็กที่มีพ่อแม่เป็นแรงงานข้ามชาติ
เอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิงภาษาไทย
- กอแก้ว วงศ์พันธ์. (2560). แรงงานพม่ากับความอคติทางชาติพันธุ์. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2007/09/14038.
- บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์. (2560). การกำหนดหลักเกณฑ์การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศไทย กรุงเทพฯ: กองบรรณาธิการประชาไท
- ปณิตา ศรศรี. (2557). แรงงานต่างด้าว: ความสำคัญและการบริหารจัดการ. นครราชสีมา: ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 3.
- ประชาไท. (2560).แรงงานเด็กข้ามชาติในชุมชนที่ขนอม. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2016/02/64271
- ภัคสิริ แอนิหน. (2561). แรงงานต่างด้าว : การบริหารและการจัดการในประเทศไทย, วารสารศิลปะการจัดการ, 2(2), พฤษภาคม–สิงหาคม
- วราภรณ์ มนต์ไตรเวศย์. (มปป.). แรงงานต่างด้าวในภาคประมงกับความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม, วารสารดำรงวิชาการ
- สพลกิตติ์ สังข์ทิพย์. (2015). วิวัฒนาการของนโยบายการศึกษาที่เกี่ยวกับเด็กต่างด้าว. OJDE, 10(3), pp. 452-466.
- อดิศร เกิดมงคล. (2557). แรงงานข้ามชาติในสังคมไทย: สิทธิและสวัสดิการ. เชียงใหม่: ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
- Save the Children. (2014). เส้นทางสู่อนาคตที่ดีกว่า บทวิจารณ์เรื่องการศึกษา สําหรับเด็กข้ามชาติในประเทศไทย. กรุงเทพฯ
- World education USAID. (2556). สถานการณ์เด็กข้ามชาติ ปี 2556. กรุงเทพฯ
เอกสารอ้างอิงภาษาต่างประเทศ
- Anderson, A. A., (2013). The Community Builder’s Approach to a Practical Guide to Theory Development: Theory of Change (Vol. 2015). New York: The Aspen Institute Roundtable on Community Change.
- Argyris, C., & Schön, D. (1978) Organizational learning: A theory of action perspective, Reading, Mass:
- Addison Wesley Clark, H., & Anderson, A. A. (2004). Theories of change and logic models: Telling them apart. Paper presented at the America n Evaluation Association Conference., oath.org.pk.
- Colby, D. & Collin s, E. (2013). Fundamentals of Theory of Change. Act Knowlege Webinar: Fundament als of Theory of Change. 2013. Retrieved December 17, 2015, from http://www. theory of change.org/library/presentations/.
- Dana, H. T., & Clark, H. (2012, December 10, 2015). Theory of Change, Basics: a Primer on
- Theory of Change. Retrieved November 15, 2015, from www.actknowledge . org$$. Dana, H. T., & Clark, H. (2012). Intervention Logic and Theories of Change: What are they, how to build them and how to use them. Retrieved November 17, 2015, from http://www.theory of change.org/library/ presentations/.
- Dana, H., T. (2014). What’s Your Theory of Change. Retrieved from https:// www.2degreesnetwork.com/groups/2degrees community/resources/whats – your – theory -changel.
- Jampaklay, Aree, et al., (2012). Children Living apart from Parents due to Internal Migration
- (CLAIM), Institute for Population and Social Research Mahidol University <http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr/Research/CLAIM/Download/CLAIM-ReportFinalReport.pdf>.
- Jones, H. (2011a). “A guide to monitoring and evaluating policy influence’. ODI Briefing Note,(February).
- OECD (2006). Where immigrant students succeed. A comparative review of performance and engagement in PISA 2003. OECD, Paris.
- OECD (2007 a). Jobs for Immigrants (Vol. 1): Labour market integration in Australia, Denmark, Germany and Sweden. OECD, Paris.
- OECD (2007b). International Migration Outlook. OECD, Paris OECD (2008). Jobs for Immigrants (Vol. 2): Labour market integration in Belgium, France, the Netherlands and Portugal. OECD, Paris. Situation report on international migration in East and South-East Asia. Bangkok: International
- Organization for Migration, Regional Office for Southeast Asia; (2008). Available from: http://publications.iom.int/system/files/pdf/situation_report.pdf [cited 2017 Oct 17]. Stein, D., & Valters, C. (2012). Understanding ‘theory of change’ in international development: A review of existing knowledge. Asian Institute and the Justice and Security Research Programme. Retrieved from http://www.theoryofchange.org/wp-content/ uploads/toco_library/pdf/UNDERSTANDINGTHEORYOFChangeSteinValtersPN. pdf