หรือนักบอลจะเป็นเพียงความฝัน เพราะปลายทางของฉันอยู่แค่ต้นยาง

เรื่องราวของอัฟนานผู้ที่มีความฝันอยากจะเป็นนักฟุตบอลอาชีพเพื่ออนาคตของตัวเองกับแสงสว่างแห่งความหวังที่ปลายอุโมงค์ ที่เห็นแค่รู้ว่ามีแต่ยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะไปถึง ซึ่งเราได้พบเจอเมื่อไปลงพื้นที่ ที่สามจังหวัดชายแดนใต้ เราได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายของชาวบ้าน เห็นการพึ่งพาอาศัยกันของผู้คนต่างศาสนา เห็นกิจวัตรประจำวันของผู้คนที่แตกต่างกันออกไป เราได้เห็นเด็ก ๆ ช่วยพ่อแม่ทำงานอย่างขยันขันแข็ง แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราลืม เราลืมไปว่า “วันนี้วันจันทร์” ใช่แล้ววันนี้วันจันทร์ เราย้ำกับตัวเองอีกครั้งเพื่อความแน่ใจ หลังจากนั้นก็เกิดคำถามตามมามากมายภายในใจ เพราะอะไรเด็ก ๆ เหล่านี้ ถึงไม่ไปโรงเรียนทั้งที่วันนี้เป็นวันจันทร์ เป็นวันที่ต้องไปโรงเรียน เป็นวันแรกหลังจากหยุดสุดสัปดาห์ที่จะได้ไปเจอเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน เป็นวันที่เด็ก ๆ จะต้องไปเรียนหนังสือกัน แต่ภาพที่เห็นกลับตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง เรามองเด็กเหล่านั้นผ่านกระจกรถยนต์ เห็นเด็กหลายคนกำลังขับรถซาเล้งพ่วงข้างเหมือนกำลังจะไปที่ไหนสักแห่ง เลยถามคนขับรถในพื้นที่ว่า เด็กเหล่านั้นกำลังไปไหนกัน จึงถึงบางอ้อ พบคำตอบว่า เด็ก ๆ น่าจะกำลังกลับบ้านหลังจากที่ตื่นตั้งแต่เช้ามืดไปกรีดยางที่สวนมา สังเกตได้จากอุปกรณ์เครื่องมือและถังต่าง ๆ ที่อยู่ในซาเล้ง แล้วบทสนทนาก็เงียบไป พร้อมกับทิ้งคำถามภายในใจไว้ เฉกเช่นเดิม ว่า “วันนี้วันจันทร์ ทำไมเด็ก ๆ ถึงเลือกที่จะมากรีดยางแทนที่จะไปโรงเรียน” 

อัฟนานเด็กหนุ่มวัย 17 ปีที่มาพร้อมกับเจ้าหน้าที่ อบต.แห่งหนึ่ง หลังจากกล่าวทักทายและแนะนำตัวกันเสร็จแล้ว เราก็ชวนคุยด้วยความอยากรู้และความสนใจส่วนตัว โดยเปิดประเด็นด้วยคำถามที่มันค้างคาใจเรามา 2 วันแล้ว ให้ทุกคนฟังว่า “ทำไมเด็ก ๆ ถึงเลือกที่จะมากรีดยางในตอนเช้าแทนที่จะเรียนหนังสือในโรงเรียน” เมื่อทุกคนได้ยิน ก็ต่างพากันงุนงงแล้วก็มีเด็กหนุ่มคนหนึ่ง มาดคมเข้ม แต่งกายด้วยชุดท้องถิ่นตามวัฒนธรรมทางศาสนา เงยหน้ามองเราแล้วบอกว่าจะเล่าเรื่องราวของตนเอง ซึ่งคิดว่าใกล้เคียงกับเรื่องราวที่เราพบเจอ

article-football-rubber-1

 อัฟนานเล่าว่า เมื่อก่อนตอนที่ยังไม่โตเป็นหนุ่มมาก เขาได้ช่วยงานที่บ้าน โดยมีพี่น้องทั้งหมด 4 คน โดยตนเองเป็นลูกคนที่ 2 ซึ่งครอบครัวของตนได้แบ่งหน้าที่ให้ทุกคนช่วยกันรับผิดชอบหน้าที่ ที่แตกต่างกันออกไป โดยงานหลักของเขาคือ ต้อนแพะเข้าคอกตอนเย็นกับดูแล พืชผักสวนครัวที่ปลูกไว้ริมรั้ว แต่เหลังจากจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.3) พี่คนโตก็ได้แต่งงานแล้วแยกไปอยู่บ้านอีกหลัง ซึ่งแน่นอนว่า ภาระงานที่พี่ชายคนโตทำอยู่นั้น ตกเป็นของเขาโดยปริยาย เนื่องจากไม่มีคนเป็นกำลังหลักในการช่วยพ่อกับแม่ อัฟนานจึงได้รับหน้าที่ใหม่คือ กรีดยางช่วยพ่อในตอนเช้า เพราะเป็นอาชีพหลักของครอบครัว ให้มีรายได้หล่อเลี้ยงคนในบ้าน จึงตัดสินใจไม่เรียนต่อ พักชีวิตการเรียนไว้ที่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ออกมาช่วยผู้ปกครองทำสวนยางเพื่อหารายได้หล่อเลี้ยงคนในครอบครัว ให้กินอิ่ม นอนหลับ

 อัฟนานเล่าว่า เมื่อก่อนตอนที่ยังไม่โตเป็นหนุ่มมาก เขาได้ช่วยงานที่บ้าน โดยมีพี่น้องทั้งหมด 4 คน โดยตนเองเป็นลูกคนที่ 2 ซึ่งครอบครัวของตนได้แบ่งหน้าที่ให้ทุกคนช่วยกันรับผิดชอบหน้าที่ ที่แตกต่างกันออกไป โดยงานหลักของเขาคือ ต้อนแพะเข้าคอกตอนเย็นกับดูแล พืชผักสวนครัวที่ปลูกไว้ริมรั้ว แต่เหลังจากจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.3) พี่คนโตก็ได้แต่งงานแล้วแยกไปอยู่บ้านอีกหลัง ซึ่งแน่นอนว่า ภาระงานที่พี่ชายคนโตทำอยู่นั้น ตกเป็นของเขาโดยปริยาย เนื่องจากไม่มีคนเป็นกำลังหลักในการช่วยพ่อกับแม่ อัฟนานจึงได้รับหน้าที่ใหม่คือ กรีดยางช่วยพ่อในตอนเช้า เพราะเป็นอาชีพหลักของครอบครัว ให้มีรายได้หล่อเลี้ยงคนในบ้าน จึงตัดสินใจไม่เรียนต่อ พักชีวิตการเรียนไว้ที่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ออกมาช่วยผู้ปกครองทำสวนยางเพื่อหารายได้หล่อเลี้ยงคนในครอบครัว ให้กินอิ่ม นอนหลับ 

อัฟนานเล่าต่อว่าเมื่อตอนเด็ก ๆ ตนไม่ชอบเรียนในระบบ เพราะยาก เรียนกับพูดคนละภาษา ภาษาเป็นอุปสรรคอย่างมากของการเรียนในระบบ ภาษาในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่เกือบจะทั้งหมดใช้ภาษามลายู แต่ตอนเรียนกลับใช้ภาไทยเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอน ทำให้วัยเด็กไม่อยากเรียนเพราะคิดว่าสุดท้ายในชีวิตประจำวันก็ต้องใช้ภาษามลายูอยู่ดี จึงไม่เข้าใจว่าจะเรียนภาษาไทยไปทำไมกัน และยังคงไม่เห็นถึงความสำคัญของภาษาไทย ด้วยทัศนคติต่อภาษาในวัยเด็กแบบนั้นเอง จึงทำให้เมื่อก่อนรู้สึกเขินเป็นอย่างมากเมื่อต้องพูดภาษาไทย เขินอายเวลาออกเสียงไม่ชัด แล้วโดนเพื่อน ๆ ล้อด้วยเสียงภาษาไทยสำเนียงเดียวกับที่ตนพึ่งพูดไป ยิ่งทำให้ไม่อยากเรียนหนังสือ แต่ในขณะเดียวกันกลับรู้สึกว่าชอบเล่นกีฬามากกว่า เพราะไม่ต้องพูด ถึงพูดก็สามารถสื่อสารเป็นภาษาเดียวกันได้

เราเลยถามต่อว่าชอบเล่นกีฬาอะไร อัฟนานบอกว่า

“ชอบเล่นฟุตบอล เป็นชีวิตจิตใจ ทุกวันนี้ก็ยังเล่นกับเพื่อน ๆ ที่หมู่บ้านทุกเย็น” เรียกว่าหลงรักในการเตะฟุตบอลเลยก็ว่าได้ เตะตั้งแต่เด็กทุกวันหลังเลิกเรียนจนถึงตอนนี้ก็เตะแทบจะทุกเย็น ยังไงอย่างน้อยใน1สัปดาห์ก็ไปเตะฟุตบอลที่สนามกีฬากลางของหมู่บ้านกับเพื่อน ๆ ไม่ต่ำกว่า 4 วัน ไม่ใช่แค่อัฟนานเท่านั้นที่ชอบเตะฟุตบอล แต่เด็ก ๆ ในหมู่บ้านหลายคนก็ชอบฟุตบอลเช่นเดียวกัน เนื่องจากฟุตบอลสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเรากับเพื่อน ๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะต้องอาศัยความเป็นทีม มีน้ำใจนักกีฬาให้กันและกัน แม้จะกระทบกระทั่งกันบ้างในสนาม แต่นอกสนามทุกคนก็รู้จักกันหมด ทุกคนเป็นเพื่อนกัน สาเหตุที่ต้องมาเตะฟุตบอลอย่างสม่ำเสมอ เพราะเราจะได้ฝึกซ้อมไปในตัว เวลามีการแข่งขันฟุตบอลทัวร์นาเมนต์ ในพื้นที่ ก็ได้มีการส่งทีมไปแข่งกับตำบลอื่น ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารของ อบต. ในการเข้าแข่งขันเพื่อล่าแชมป์ แล้วนักเตะในทีมก็มีฝีเท้าดีหลายคน ซึ่งหลาย ๆ ครั้ง ในการแข่งขันโดยเฉพาะรายการใหญ่ระดับจังหวัดซึ่งจะจัดปีละครั้งเท่านั้น มักจะมีแมวมองจากสโมสรต่าง ๆ มาดูฝีเท้าอยู่เสมอ จึงเป็นแรงผลักดันให้ตนเองเข้าร่วมการแข่งขัน เผื่อว่าวันหนึ่ง ฝีเท้าจะเข้าตาแมวมอง โดนดึงตัวไปร่วมทีม หรือไปเป็นเด็กปั้นของสโมสร ก็จะยิ่งดี ยิ่งพัฒนาให้เราเก่งขึ้น เมื่อเราเก่งขึ้นแล้ว เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงการฟุตบอล พอถึงวันนั้น

“ครอบครัวจะสบาย น้องทุกคนจะได้เรียนในสิ่งที่ตนเองอยากเรียน วันนี้เสียสละเพื่อครอบครัวแล้ว ก็หวังว่าครอบครัวจะต้องสบายขึ้น ทุกคนจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตราบใดที่ตนยังมีลมหายใจอยู่ ก็จะไม่ท้อ จะฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ จนกว่าความฝันเราจะสำเร็จ”

อัฟนานกล่าว

หลังจากที่คุยกันถึงตรงนี้เราสังเกตเห็นและรับรู้ได้ถึงความมุ่งมั่นและตั้งใของเขาที่ทะลุออกมาผ่านทางสายตาและสีหน้าที่ยิ้มเล็กน้อย ด้วยความภาคภูมิใจที่ได้เล่าประสบการณ์ และ การสานต่อความฝันของตนเอง แม้ตอนนี้เขาจะเสียโอกาสทางการศึกษาไปบ้าง แต่เราเชื่อว่าถ้าเขาจะไม่หยุดฝัน ตราบใดที่ยังมีโอกาสเขาจะไม่ทิ้งโอกาสนั้นให้เสียไปอย่างเปล่าประโยชน์ แน่นอน

article-football-rubber-4

เกี่ยวกับผู้เขียน

ผลงานชิ้นอื่นๆ

เด็กบ้านนอก อยู่อำเภอที่ไม่มีแยกไฟแดง เป็นคนเดียวในหมู่บ้านที่เรียนธรรมศาสตร์ เป็นคนช่างสังเกตพร้อมตั้งคำถามกับทุกสิ่งอย่างบนโลกและมักใช้จินตนาการในการทำงาน

+5

Categories

เรื่องที่คล้ายกัน

guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments