ชวนสำรวจช่องว่างระหว่างวัยกับการทำงานเด็กเยาวชน

ในระยะ 30-50 ปีที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยมีการขับเคลื่อนงานด้านเยาวชน ทั้งเพื่อเป็นไปตามการลงนามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก พรบ.คุ้มครองเด็ก และตามความประสงค์ของแต่ละองค์กร ซึ่งมุ่งหวังให้เยาวชนเกิดการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ ก่อนจะพบว่า ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ช่องว่างระหว่างวัย ความเข้าใจโลกสมัยใหม่ เทคโนโลยีสารสนเทศ และปัจจัยอื่น ๆ กลายเป็นปัญหาในแง่การจัดการและมุมมองต่อชีวิต หลายครั้งการทำงานเยาวชน คนทำงานและเยาวชน กำลังอยู่บนโลกคนละใบ

นิวกราว องค์กรวิจัยอิสระด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรในอนาคต ได้วิเคราะห์รวบรวมสิ่งที่องค์กรด้านเยาวชนให้คุณค่า นำมาเปรียบเทียบกับคุณค่าที่เยาวชนสนับสนุน และเสนอเป็นแนวทางการทำงานร่วมกับคนรุ่นใหม่ เพื่อให้กลุ่มองค์กรทำงานด้านเด็กเยาวชนสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำนิยามที่ได้รับความนิยม เมื่อถูกคนเรียก

จากความเห็นคนรุ่นใหม่อายุไม่เกิน 27 ปี เกี่ยวกับคำเรียกแทนตัวเอง กลุ่มสังคมที่ให้คุณค่า รวมไปถึงชุดคำที่อธิบายความเป็นตัวเองและมุมมองที่มีต่อชุมชน ได้ผลที่น่าสนใจ ดังนี้

คำที่นิยมที่สุด (เฉลี่ยเกิน 7/10)คำที่ไม่ชอบที่สุด 3 อันดับแรก
1. เรียกด้วยชื่อเฉพาะที่ระบุตัวตนชัดเจน (8.6/10)
2. คนรุ่นใหม่ (7.8 /10)
3. นักเรียน นักศึกษา (7.3/10)
4. นักสร้างสรรค์ (7.1/10)
1. เด็ก (3.5/10)
2. วัยใส (3.6/10)
3. คนพันธุ์ใหม่ (4.1/10)

สังเกตว่าผู้ให้ความเห็นให้ความสำคัญกับการเป็นปัจเจกและถูกนิยามด้วยมุมมองของตนเอง รวมถึงไม่ชอบถูกเรียกหรือถูกมองว่าเป็นเด็ก หรือ ใส นอกจากนี้ยังมีผู้ไม่ชอบคำว่า น้อง หรือคำที่มีนัยยะของความอาวุโสอีกด้วย

กลุ่มสังคมที่มีความหมายหรือมีความสำคัญต่อตนเอง

กลุ่มที่รู้สึกว่าสำคัญต่อตนเองมากกลุ่มที่ยึดโยงกับตนเองน้อย
1. ยึดโยงด้วยความเป็นมนุษย์ (8.6/10) 
2. กลุ่มตามความสนใจที่ตัวเองทำอะไรในนั้น (6.7 /10)
3. กลุ่มที่สนใจแลกเปลี่ยนในประเด็นกว้าง ๆ (6.5/10)
1. ยึดโยงด้วยชาติไทย (5.1/10)
2. ยึดโยงด้วยพื้นที่ที่อยู่อาศัย (5.1/10)
3. กลุ่มที่ติดตามในฐานะผู้สนับสนุน (5.4/10) 

พบว่า คนที่ให้ความสำคัญกับความเป็นคนชาติไทยมากที่สุด มักเป็นกลุ่มคนอายุน้อยในแบบสำรวจ ยิ่งอายุเพิ่มขึ้น ความสนใจในความเป็นคนชาติไทยจะมีน้อยลง ในขณะที่ความสนใจในความเป็นมนุษย์จะมีค่าสูงและกระจายอยู่ในทุก ๆ วัย

ถ้อยคำที่สื่อถึงความเป็นตนเองได้มาก (เกิน 7.5)

อิสระ (8.6)สิทธิ (7.9)ท้าทาย (7.6)
เป็นตัวเอง (8.4)ประสบการณ์ (7.9)พัฒนา (7.6)
ความเปิดกว้าง (8.2)ก้าวหน้า (7.8)ทดลอง (7.6)
ความยุติธรรมและความถูกต้อง (8.1)คุณค่า (7.7)ปลดปล่อย (7.6)
สร้างสรรค์ (8.0)เปลี่ยนแปลง (7.7)ค้นหา (7.5)
นอกกรอบ (8.0)ก้าวข้าม (7.7)

ถ้อยคำที่ไม่สื่อถึงความเป็นตนเองหรือไม่ดึงดูด (ต่ำกว่า 6.0)

ใส (3.3)ความดี (5.2)ปลูกปัญญา (5.6)
มีค่านิยมที่ถูกต้อง (5.0)เท่ (5.3)ตื่นรู้ (5.7)
เฟี้ยว (5.1)แจ๋ว (5.3)รวมใจ (5.9)

ความเป็นตัวเองในแบบสำรวจนี้ ให้ผลลัพธ์เป็นภาษาของความเคลื่อนไหวและการปฏิบัติ (ฉันทำอะไร) ในขณะที่ถ้อยคำที่ไม่ดึงดูดเป็นภาษาของนิยามที่ผู้อื่นมองเข้ามา (คนอื่นจะมองว่าฉันเป็นอย่างไร) และเป็นภาษาที่ไม่เคลื่อนไหว หรือดูเชื่องช้า (ปลูก,รวม) และคำว่า “ใส” ได้รับความนิยมต่ำที่สุด มุมมองเรื่อง “เยาวชน = วัยใส” อาจต้องเปลี่ยนไปในอนาคต

สำรวจมุมมองวัยรุ่นต่อ “ชุมชน”

นิวกราวได้สำรวจผู้ทำแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพความเป็นชุมชนในพื้นที่ และความสำคัญของความเป็นชุมชนต่อตนเอง โดยให้คะแนนตั้งแต่ 0 ถึง 5 คะแนนตามประเภทพื้นที่ที่อยู่อาศัย

ประเภทพื้นที่ที่อยู่อาศัยความเป็นชุมชนในพื้นที่ (5)ความสำคัญของความเป็นชุมชน
ต่อตนเอง (5)
ชนบท3.63.4
นอกเมือง3.63.5
ชานเมือง3.093.09
ในตัวเมือง2.42.3

พบข้อสังเกตดังนี้

  • ในชุมชนทุกประเภท จะประกอบไปด้วยคนที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ภายในชุมชนมาก ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนที่ไม่สนใจความสัมพันธ์ภายในชุมชน หรือให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวมากกว่า การนิยามชุมชนจึงควรนับ “ความเป็นส่วนตัว” เข้าไปในการตีความด้วย
  • ในชุมชนเมืองมีความหลากหลายสูงมาก ทั้งคนที่ให้ความสนใจกับการมีคนข้างบ้านที่มีปฏิสัมพันธ์อันดี ไปจนถึงคนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวหรือคนที่ยึดโยงกับบุคคลอื่นผ่านความสนใจที่มีร่วมกัน (การหายไปของเพื่อนบ้าน ไม่ส่งผลต่อชีวิตเท่าการหายไปของร้านกาแฟที่เอาไว้นัดเจอเพื่อน) นิยามชุมชนในสังคมเมืองจึงต้องสอดรับกับความหลากหลายของ “รสนิยมความสัมพันธ์” ด้วย
  • หากย้อนกลับไปที่หัวข้อ “กลุ่มที่ยึดโยงกับตัวเอง” จะพบว่าการยึดโยงด้วยพื้นที่ทางกายภาพมีความสำคัญต่อคนรุ่นใหม่น้อยกว่าการยึดโยงด้วยพื้นฐานความเป็นมนุษย์ , ยึดโยงตามความสนใจในการทำกิจกรรม และความสนใจเชิงประเด็น องค์กรที่ทำงานกับเด็กเยาวชนจึงอาจต้องทบทวนการให้น้ำหนักระหว่างชุมชนกายภาพกับชุมชนเชิงวัฒนธรรม ว่าน้ำหนักใดจะขับเคลื่อนงานให้มีประสิทธิภาพได้มากกว่ากัน
  • โดยพื้นฐานแล้วทุกชุมชนต้องการส่วนกลางที่เคารพสิทธิเป็นพื้นฐาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากการจัดการทรัพยากรส่วนกลาง (สะอาด ปลอดภัย ส่งเสริมสุขภาพ ส่งเสริมโอกาสในการดำเนินชีวิต)
  • ดังนั้น ในการตีความประเด็นชุมชน พื้นฐานของชุมชนที่ดีควรจะวางอยู่บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิ, ส่วนกลางที่สะอาด ปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นพื้นฐาน ในส่วนของนิยามเรื่อง “ปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชน” อาจต้องตีความเพิ่มเติมว่าเป็นไปเพื่อรองรับมิติใดบ้าง (แต่โดยพื้นฐานจะต้องทำให้เกิดความรู้สึก “ปลอดภัย” เป็นพื้นฐาน) ความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน อาจดำรงอยู่ในฐานะของรสนิยมมากกว่าบรรทัดฐาน เพื่อให้คนที่นิยม “ความเป็นส่วนตัว” หรือ “สนใจความสัมพันธ์เชิงประเด็นมากกว่าพื้นที่” มีพื้นที่ในสังคมนั้น ๆ ด้วย

นอกจากชวนทำความเข้าใจนิยามที่ใช้ปฏิสัมพันธ์กับเด็กเยาวชน กรอบการมองคุณค่าซึ่งเปลี่ยนไปตามยุคสมัยแล้ว ในบทความหน้าผู้เขียนตั้งใจจะนำเสนอโมเดลการทำงานขององค์กรต่างประเทศที่สามารถประยุกต์กับบริบทของสังคมไทย และชวนมองอนาคตอันใกล้ เพื่อเข้าใจแนวโน้มของโลกและคุณสมบัติที่จำเป็นต่อประชากรในอนาคต

เกี่ยวกับผู้เขียน

139617677_428310095054236_534354255549930898_n
วิภาพรรณ วงษ์สว่าง
| ผลงานชิ้นอื่นๆ

ผู้ก่อตั้งโครงการสื่อสารเรื่องความเป็นธรรมทางเพศ Thaiconsent.in.th, นักออกแบบเกมและนักออกแบบเพื่อการแก้ปัญหาสังคม ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาโท สาขา Social Design ที่ L'École de Design Nantes ประเทศฝรั่งเศส

139652153_160023418968304_7478098811518330997_n
เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์
ผลงานชิ้นอื่นๆ

ฟิล์มเมกเกอร์ ผู้บริหารโครงการเพื่อสังคม และที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งชมรมยังฟิล์มเมกเกอร์ออฟไทยแลนด์, นิวกราว องค์กรวิจัยอิสระด้านการพัฒนาประชากรในอนาคต และเจ้าของสตูดิโอผลิตสื่อ

+1

Categories

เรื่องที่คล้ายกัน

guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments