icon_tools1

เครื่องมือสำหรับ อปท.

เพื่อสร้างท้องถิ่นส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของสภาเด็กและเยาวชน

คู่มือการพัฒนาตำบลส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน

คู่มือนี้เป็นคู่มือสำหรับการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน เหมาะสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ต้องการสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนตั้งแต่ระดับนโยบายไปจนถึงระดับปฎิบัติ คู่มือนี้ถอดบทเรียนและพัฒนาจากการดำเนินโครงการตำบลต้นแบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน ระหว่างปี พ.. 2562-2564 โดยได้ร่วมกับท้องถิ่นว่า 30 พื้นที่ 

บันไดขั้นที่ 3 “การสำรวจข้อมูลและสถานการณ์เด็กและเยาวชนตำบลประจำปี”

เป็นการ “เปิดดวงตา” เกี่ยวกับสถานการณ์เด็กและเยาวชนในพื้นที่ระดับตำบล เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา แนวทางการแก้ไขและความต้องการของเด็กและเยาวชนในรอบปีที่ผ่านมา ด้วยกระบวนการสำรวจข้อมูลในพื้นที่ทั้งข้อมูลที่มีอยู่ของ อปท. และข้อมูลที่เกิดขึ้นใหม่จากการลงพื้นที่สำรวจ ผ่านเครื่องมือ “สำรวจข้อมูลและสถานการณ์เด็กและเยาวชนตำบลประจำปี”

บันไดขั้นที่ 4 “การสำรวจต้นทุนท้องถิ่น”

เป็นการ “ “ค้นหาขุมทรัพย์” จากการสำรวจทรัพยากรบุคคล วัตถุดิบ ของขึ้นชื่อ ค่านิยมและประเพณี และจุดเด่นของพื้นที่นำไปสู่การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนตำบล ผ่านการใช้เครื่องมือ “ค้นหาต้นทุนในพื้นที่โดยเด็กและเยาวชน” โดยการสนับสนุนการสำรวจจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน เป็นต้น

บันไดขั้นที่ 5 “สานเสวนาและคัดเลือกต้นทุนเพื่อสนับสนุนเด็กและเยาวชน”

เป็น “การหยิบจับ” ขุมทรัพย์ที่ได้จากการสำรวจต้นทุนในพื้นที่ระดับตำบล ทั้งวัตถุดิบ ทรัพยากรบุคคล ของขึ้นชื่อ ค่านิยม ประเพณีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสนับสนุนเด็กและเยาวชน ผ่านการใช้เครื่องมือ “การคัดเลือกต้นทุนชุมชนเพื่อสนับสนุนเด็กและเยาวชน”

บันไดขั้นที่ 6 “การพัฒนาและจัดตั้งกองทุนคนรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาท้องถิ่น”

เป็นพัฒนา “ทุนหมุนเวียน” โดยการ “หยิบจับ” ทรัพยากรจากบันไดขั้นที่ 4 และขั้นที่ 5 ที่มีแนวโน้มว่าจะสามารถนำมาใช้เพื่อก่อให้เกิดรายได้และมีความรอบรู้ทางการเงิน ภายใต้เครื่องมือ “สร้างสรรค์กองทุนคนรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาท้องถิ่น” และออกแบบระเบียบกองทุนคนรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามเครื่องมือ “ระเบียบกองทุนคนรุ่นใหม่”

บันไดขั้นที่ 7 “การพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง”

เป็นการใช้ทฤษฎี “การเปลี่ยนแปลง” (Theory of change) มาเป็นฐานในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย “Meaningful Participation” ระหว่างภาคีหลัก คือ สภาเด็กและเยาวชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผ่านการใช้เครื่องมือ “นวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง” นำมาสู่การคัดเลือกปัญหาและพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา

บันไดขั้นที่ 8 “การขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง”

เป็นการ “ขับเคลื่อนเพื่อแก้ไข” หลังจากที่มีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในขั้นที่ 7 ด้วยการระดมสรรพกำลังโดยการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ผ่านการสนับสนุนของผู้ใหญ่ใจดีและต้นทุนในชุมชน โดยการใช้เครื่องมือ “แผนงานขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง” มาเป็น “ต้นร่าง” เพื่อกำกับทิศทางและแผนงานในการดำเนินการ

บันไดขั้นที่ 9 “การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์”

เป็นการ “สื่อสารความสำเร็จ” ข้อมูลหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานขั้นที่ 1-8 โดยการออกแบบสื่อรูปแบบต่าง ๆ เช่น Infographic หรือ เอกสารประกอบที่ครอบคลุมขั้นตอนหรือเนื้อหาแต่ละขั้นตอน โดยใช้เครื่องมือ “สื่อสารอย่างสร้างสรรค์”

บันไดขั้นที่ 10 การพัฒนาหลักสูตรและพื้นที่การเรียนรู้

เป็นการ “ยกระดับ” จากการนำองค์ความรู้และการขับเคลื่อนงานที่ดำเนินงานทั้งหมดกลายมาเป็นหลักสูตรการเรียนรู้ในพื้นที่โดยการนำระบบสนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนมาออกแบบเพื่อจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ ผ่านการใช้เครื่องมือ “หลักสูตรการเรียนรู้ตำบลต้นแบบ”