อนุพงษ์ จันทะแจ่ม

อนุพงษ์ จันทะแจ่ม

นักมานุษยวิทยา เขียนนิยาย ทำวิจัย และฝันอยากเห็นสังคมไทยก้าวหน้า เท่าเทียม
article_2024_22cover
บทความ

สิ่งขโมยความฝัน : สำรวจที่นั่งเล่น นิทาน การเดินทางของเยาวรุ่นท้องถิ่น

“ถ้าจะเดินทางเข้าไปตัวเมืองต้องใช้เวลาเกือบทั้งวัน และเสียเงินเยอะด้วย อยู่ที่นี่ไม่มีอะไรเลย แต่ก็ไม่อยากออกไปข้างนอกนะ อยากให้มีที่นั่งเล่นกว้าง ๆ ที่ได้มาเจอเพื่อน เจอคนอื่น ๆ” วัยรุ่นในท้องถิ่นแห่งหนึ่ง “ร่างกาย สุขภาพและอนาคตของเรา อาจไม่ใช่แค่เราที่เป็นผู้กำหนด” สิ่งแวดล้อมรอบตัวทั้งระดับแรงปรารถนาภายในตัวตน ครอบครัว ชุมชน สังคม มีส่วนเข้ามากำหนดความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์ สิ่งแวดล้อม สถานที่ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้มนุษย์แสวงหา เป็นพลังสร้างสรรค์ ผลักดันให้มนุษย์คิด จินตนาการและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ การมีที่นั่งเล่น หนังสือนิทานหรือวรรณกรรมดีเข้าถึงได้ง่าย และมีการเดินทางที่สะดวก ราคาถูก ย่อมเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเติบโตและการอยู่อาศัยของคนทุกคน พื้นที่สาธารณะ พื้นที่โล่งกว้างมองไปรอบ ๆ เป็นทุ่งนา ภูเขา แม่น้ำ ไร่อ้อย สวนยางพารา บ้านเรือน ถนนที่ทอดยาวระหว่างหมู่บ้าน แต่มองหาไม่เห็นพื้นที่สาธารณะที่พอที่จะให้พักผ่อนหย่อนใจ ไม่ต้องพูดถึงพื้นที่อย่างห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ ลานกิจกรรม สวนสาธรณะ เพราะแม้กระทั้งที่หย่อนก้นลงนั่งแทบไม่มีให้เห็น จะเห็นก็มีแต่พื้นที่ เช่น ร้านกาแฟในปั๊มน้ำมัน คำว่า ‘พื้นที่สาธารณะ’ อาจเป็นคำที่เข้าใจได้โดยไม่ต้องอธิบายมากนักโดยเฉพาะแวดวงเมืองและผังเมือง แต่สำหรับคนในทั่วไปโดยเฉพาะเยาวรุ่นในท้องถิ่น คำนี้อาจไม่เห็นภาพที่ชัดเจน เพราะทั้งชีวิตพวกเขาอาจไม่เคยได้เข้าไปใช้บริการ “พื้นที่สาธารณะ” ที่ดีเลยสักครั้ง เอ อายุ 16 ปี อาศัยอยู่พื้นที่ต่างอำเภอของจังหวัดมหาสาคาม เล่าถึงพื้นที่ใกล้บ้านว่าเขาไม่รู้จะออกไปไหนเลยในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ สถานที่ที่ไปบ่อยคือโรงเรียนมัธยมที่ใกล้บ้าน ไปนั่งเล่น คุยกับเพื่อน ๆ และไปตลาดนัดยามเย็น แม้ว่าเขาจะไม่ได้ซื้ออะไรแต่ก็ถือเป็นแหล่งพักผ่อนยามว่าง การเดินทางเข้าไปในตัวเมืองเต็มไปด้วยความยากลำบาก เพราะรถประจำทางที่ไม่เคยมีอยู่ประจำ บางครั้งก็ไม่จอดรับ เอเล่าว่า “วันหยุดหรือช่วงที่มีเวลาว่างเขาอยากมีที่เล่น พักผ่อนใกล้บ้าน ตื่นแต่เช้ามาชวนเพื่อนไปปั่นจักรยาน และเดินเล่นในสวนสาธารณะใหญ่ของท้องถิ่นได้ สาย ๆ นั่งทำการบ้านที่คาเฟ่ หรือห้องสมุดสักแห่งที่มีอินเตอร์เน็ต ได้มาเจอเพื่อน เจอคนอื่น ๆ  ตอนเย็นมีพื้นที่ให้ไปออกกำลังกาย นั่นอาจเป็นภาพฝันของการเข้าไปใช้งานพื้นที่สาธารณะของคนเด็กคนหนึ่งในต่างจังหวัด ปัจจุบันถ้าจะมีพื้นที่แบบนี้ต้องเข้าไปตัวอำเภอเมือง ๆ  ต้องใช้เวลาเกือบทั้งวัน เสียเวลาและเสียเงินเยอะด้วย ” ระบบฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กระทรวงมหาดไทย ระบุเอาไว้ว่าท้องถิ่นไทยมีสวนสาธารณะ/ลานกีฬา/สนามกีฬาจำนวน 38,583 แห่ง จำนวนห้องสมุด 9,760  แห่ง จำนวนสนามเด็กเล่น 8,289 แห่ง การจายอยู่ทั่วไทย เมื่อเทียบสัดส่วนกับจำนวนท้องถิ่นในประเทศไทยกว่า 7,850 แห่ง เฉลี่ยท้องถิ่นมีสวนสาธารณะ/ลานกีฬา/สนามกีฬาจำนวน 4.9 แห่งต่อท้องถิ่นซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มากพอควร แต่ถึงอย่างนั้นทำไมเยาวชนหลายคนยังรู้สึกว่าพวกเขายังไม่เคยได้ใช้บริการ “พื้นที่สาธารณะ” ที่ดีเลยสักครั้ง มูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม เก็บข้อมูลเชิงสำรวจกับเด็กเยาวชนทั่วประเทศ พบว่าพื้นที่ที่คนรุ่นใหม่ต้องการใช้ชีวิตอยู่มากที่สุดคือ “พื้นที่ได้พัฒนาตัวเองได้และมีความสุขในการดำเนินชีวิต” พื้นที่ใดก็ได้ที่สามารถพัฒนาศักยภาพมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และเติบโต มากถึงร้อยละ 36.8 รองลงมาคือการไปใช้ชีวิตที่ต่างประเทศ ร้อยละ 25 ถัดมาคือการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่หรือตามหัวเมืองต่างจังหวัดที่มีสิ่งแวดล้อมทางสังคม และทรัพยากร ตลอดจนมีงานที่มีคุณภาพที่เอื้อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี คำถามสำคัญต่อจากนี้คือ เราจะทำอย่างไรให้เกิดพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่เรียนรู้ในชุมชนใกล้บ้านเป็นพื้นที่ที่รองรับการเรียนรู้และความสร้างสรรค์ที่ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน หนังสือนิทาน  หนังสือหรือสื่อการเรียนรู้ ประเภทวรรณกรรม นิทาน มักเข้าถึงได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครองที่มีรายได้น้อย 1,700 บาท คือ ตัวเลขในการงการบริหารงบประมาณเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนค่าจัดการเรียนการสอน (รายหัว) สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป้าหมายคือมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา อย่างก็ดีงบประมาณดังกล่าวไม่เพียงพอต่อการไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้แน่นอน เพราะการขาดแคลนสื่อการเรียนการสอนตามศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในท้องถิ่นที่ได้รับการคัดสรรจากผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กยังไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังชีวิตนอกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก็มีความสำคัญอยู่มาก ในบางครั้งที่พ่อแม่อาจไม่สามารถซื้อได้เพราะราคาที่แพง หรือพ่อแม่อาจยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าโลกแห่งนิทานและการเล่นมีอยู่อย่างหลากหลายมากนัก เสียงจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า การเสริมพัฒนาการเด็กต้องลงทุนไม่ใช่แค่การอ่าน กิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การอ่านหนังสือหรือดูสมุดภาพร่วมกันกับเด็ก การเล่านิทานให้เด็กฟัง การร้องเพลงกับเด็ก พาเด็กไปเดินเล่น นอกบ้าน เล่นกับเด็กและหัดเรียกชื่อนับเลขหรือวาดรูปกับเด็ก ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ซึ่งเด็กปฐมวัยถือเป็นวัยทองแห่งการเรียนรู้ เพราะเป็นช่วงเวลาที่สมองพัฒนาสูงสุดและส่งผลต่อสติปัญญา บุคลิกภาพ และความฉลาดทางอารมณ์ การพัฒนาเด็กในช่วงวัยนี้จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทักษะและความสามารถในระดับที่สูงขึ้นต่อไป ความขาดแคลนทรัพยากร กำลังทำลายวัยทองของการเรียนรู้ เป็นคำถามที่เราต้องช่วยกันตอบว่าจะทำอย่างไรให้เด็กในท้องถิ่นได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพได้อย่างไร ? การเดินทาง เดินทางไปที่ต่าง ๆ อย่างไร บ่อยแค่ไหนค่าใช้จ่ายในการไปยังที่ต่าง ๆ แพงไหมเวลาว่างทำอะไร  ?  เดินทางไปอย่างไร ? เป็นคำถามที่พูดคุยกันและได้สังเกตการณ์เยาวชนที่อยู่ในท้องถิ่นที่มีประสบการณ์การเคลื่อนย้ายระยะสั้น ๆ ในท้องถิ่น คำตอบที่ได้คือไม่มีรถเมล์สายไหนที่พาเดินทางเข้าไปถึงแหล่งเรียนรู้หรือบริการสาธารณะต่าง ๆ ภายในต่อเดียว และการเดินทางเข้าไปตัวเมืองหนึ่งครั้งมีราคาแพงประมาณ 100-200 บาท ซึ่งมีราคาแพงเกิดกว่าเด็กวัยรุ่นจะเอื้อมถึง วัยรุ่นหลายคนมีความฝันอยากไปดูการแสดงศิลปะ โรงหนัง การแสดงดนตรี

อ่านต่อ »
article_2024_11cover
บทความ

นักร้องท้องถิ่น : หอบความฝันมาหลังเวที ใช้เสียงสู้ความจน

…เด็กตาดำๆ กอดวุฒิ ม.3 จบ กศน. ภาพจำคือหน้าแม่พ่อ กับน้องที่ยังลำบาก ออกเดินตามฝัน เพื่อหวังสักวันให้คนที่ฮัก ได้มีที่พึ่งที่พัก มีชีวิตดีกว่านี้… เนื้อร้องบางท่อนจากเพลง ‘หอบฝันมาหลังฮ้าน’ ขับร้องโดย อุ๋งอิ๋ง เพชรบ้านแพง เล่าถึงเยาวชนคนหนึ่งที่ออกจากระบบการศึกษาช่วงมัธยมต้น ภายใต้สถานะครอบครัวที่ยากลำบาก เธอตัดสินใจออกเดินตามความฝันของตัวเองด้วยการเป็นนักร้อง เพื่อหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ นี่คือบทเพลงที่เขียนขึ้นจากชีวิตของ อุ๋งอิ๋ง–รัตนาภรณ์ อุดทุม เยาวชนจากจังหวัดศรีษะเกษ เข้าสู่วงการหมอลำด้วยวัยเพียง 16 ปีที่ใช้เสียงเพลงผลักดันให้ชีวิตดีขึ้น จนกลายมาเป็นนางเอกสาวหมอลำน้องใหม่คลื่นลูกใหม่ของคณะหมอลำสาวน้อยเพชรบ้านแพง ชีวิตวัยรุ่นของอุ๋งอิ๋งไม่เหมือนเด็กทั่วไป เพราะในขณะที่เพื่อนวัยเดียวกันใช้ชีวิตไปตามวัยอย่างการเข้าเรียนในระดับมัธยม แต่เธอหยุดการศึกษาใว้เพียง ม.3 และเริ่มเป็นนักร้องสมัครเล่น ขึ้นเวทีละแวกบ้านเพื่อหารายได้เลี้ยงดูพ่อแม่ที่มีอาชีพเกษตรกร ด้วยเหตุผลนี้เธอกับแม่จึงตัดสินใจเดินทางมาหลังเวทีหมอลำคณะใหญ่ คณะสาวน้อยเพชรบ้านแพง ในวันที่วงมาทำการแสดงใกล้บ้าน เพื่อสมัครเข้าร่วมวงหมอลำ ในวันนั้นเธอเล่าให้หัวหน้าวงฟังว่า “หนูเพิ่งฝึกร้องเพลงได้ไม่กี่เดือน หนูเคยรับจ้างร้องเพลงบนรถแห่ เคยร้องวงหมอลำซิ่ง พอเห็นวงหมอลำสาวน้อยเพรชบ้านแพงเปิดรับสมัครนักร้อง ก็เลยมาลองสมัครดู” อุ๋งอิ๋ง เพชรบ้านแพง ในมุมมองของอุ๋งอิ๋ง นอกจากเธอจะเลือกร้องเพลงเพราะเป็นสิ่งที่เธอชื่นชอบแล้ว การร้องเพลงหรือการเป็นศิลปินยังเป็นทางเดียวที่จะทำให้พ่อแม่น้องพ้นจากความลำบาก เรื่องราวชีวิตที่ต้องสู้ของเธอ จึงทำให้มีแฟนคลับคอยเอาใจช่วยจำนวนมาก “…ทุกวันนี้น้อง ๆ เยาวชนให้ความสนใจมาสมัครเป็นนักร้องเป็นจำนวนมาก พ่อแม่พามาร้องให้ฟังถึงหลังเวที อายุน้อยสุดที่มาขอสมัครคือ 8 ขวบ เยาวชนที่มาตรงนี้ล้วนมีความฝัน และมองว่าพื้นที่เวทีหมอลำตรงนี้คือพื้นที่แห่งโอกาสที่ให้เขาได้ทดลองคว้าฝันนั้นเอาใว้…” คำบอกเล่าของ หนุ่มโจ ยมนิล นามวงษา หัวหน้าหมอลำสาวน้อยเพชรบ้านแพง ผู้ผลักดันเยาวชนสู่การเป็นศิลปินอาชีพมาแล้วหลายคน หัวหน้าวงยังบองอีกว่า พออุ๋งอิ๋ง เพรชบ้านแพง เป็นนักร้องหมอลำอายุน้อยที่มีชื่อเสียงมีแฟนคลับติดตามมากมาย เธอกลายเป็นแรงบัลดาลใจให้เยาวชนรุ่นเล็ก ๆ หันมาสนใจหมอลำและกล้าทำเพื่อคว้าความฝัน ทางวงสาวน้อยเพชรบ้านแพงก็ยังไม่อยากรับเยาวชนที่มีอายุน้อยเกินไป ส่วนใหญ่ถ้าต่ำกว่า 15 ปี ก็ไม่ค่อยอยากรับเพราะอยากให้เขาเรียนให้จบก่อน หรือสามารถจัดสรรเวลาได้ก่อน อย่างไรก็ตามถ้าเยาวชนได้เขามาอยู่ในวงเราก็สนับสนุนเขาเต็มที่ เยาวชนบางคนเขาเห็นอนาคตเขาอาจจะพักการเรียนใว้ก่อนแล้วเข้ามาเป็นศิลปินเต็มตัว เพราะเขามองว่าการได้เป็นศิลปินมันคือโอกาสที่หาได้ยาก ในมุมมองอของหนุ่มโจ มองว่าตรงนี้เป็นโอกาสที่ดีที่เยาวชนสนใจศิลปะวัฒนธรรม ภาครัฐควรสนับสนุนทั้งวงหมอลำและเยาวชนที่สนใจ เช่น ถ้ามีงานเทศกาลใหญ่ ๆ ก็อยากให้นึกถึงหมอลำ อยากให็เชิญศิลปินไปแสดงมากขึ้นกว่าปัจจุบัน และอยากให้มีพื้นที่แห่งโอกาสให้เยาวชนจะได้มีเวทีแสดงความสามารถและศิลปะวัมนธรรมอีสานจะได้เผยแพร่และเป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วย เช่นเดียวกันกับ เนย ญาดา เด็กสาววัย 18 ปีชาวกาฬสินธุ์ ที่เริ่มต้นร้องเพลงมาตั้งแต่เด็กมัธยม เธอเป็นเด็กคนหนึ่งที่มีฝันอยากเป็นนักร้อง และมองว่าเส้นทางนี้จะนำไปสู่รายได้ที่มากขึ้นของครอบครัว เนยเริ่มร้องเพลงจากเวทีประกวดไกล้บ้าน และตามงานต่าง ๆ จนมี “นายห้าง”เจ้าของกิจบันเทิงท้องถิ่นให้ความสนใจและชักชวนไปร่วมงาน จนมีผลงานเพลงในสื่อต่าง ๆ มียอดชมมากว่า 1 ล้านวิวต่อเพลง เริ่มมีเวทีที่ต้องขึ้นประจำและเริ่มมีรายได้เพียงพอให้กับตัวเองและครอบครัว เมื่อมีชื่อเสียง การร้องเพลงก็เริ่มกระทบการเรียน เนยเริ่มลาเรียนไปร้องเพลงบ่อยขึ้น แต่ครูและเพื่อน ๆ ก็เข้าใจ เมื่อจบ ม.6 และไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร เธอกำลังอยู่บนทางแพร่งที่ต้องเลือกระหว่างการเรียนและการเป็นศิลปินเต็มตัว ทว่าเธอตัดสินใจสมัครเรียนต่อระดับอุดมศึกษา และยังหวังว่าอาชีพร้องเพลงจะช่วยเป็นช่องทางหารายได้ให้เธอระหว่างเรียนได้ และยังพอมีรายได้ส่งให้ครอบครัวด้วย แต่นั้นเป็นเพียงสิ่งที่คาดเดาว่าจะเป็น เนยยังบอกอีกว่า “… กิจการค่ายเพลงท้องถิ่น รถแห่หรือเวทีประกวดต่าง ๆ เป็นโอกาสของเด็กต่างจังหวัดอย่างมาก เด็กบ้านนอกในท้องถิ่นไม่มีต้นทุนอะไรนอกจากเสียง ซึ่งบางคนมีพรสวรรค์ บางคนก็ฝึกฝนอย่างหนัก เพื่อที่จะใช้เสียงเป็นบันใดไปสู่ชีวิตใหม่ พ่อแม่ผู้ปกครองก็สนับสนุนอย่างยิ่ง บางคนพามาฝากกับวงหมอลำ บางคนขับรถพาลูกไปทดสอบเสียงกับค่าย บางคนพาลูกไปประกวด อาจเพราะวงการเพลงท้องถิ่นเป็นสิ่งเข้าถึงได้ไม่ยากนัก ถึงแม้บางรายจะไปไม่ถึงฝัน แต่นี่ก็จะเป็นประสบการณ์ที่ติดตัว..” เนย ญาดา ดูราวกับว่าการร้องเพลงและอุตสาหกรรมความบันเทิงในท้องถิ่นที่กำลังเติบโตขึ้น เป็นประตูไปสู่โอกาสการเป็นศิลปินของเยาวชน ใช้เสียงสู้ความจน : ความดราม่าในรายการเพลงไทย ย้อนไปในอดีต การประกวดร้องเพลงในไทย เริ่มมาตั้งแต่ราวๆ พ.ศ. 2480 ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในวัด และการประกวดร้องเพลงมีอยู่ไม่กี่วัดที่ได้รับความสนใจอย่างสูงจากประชาชน วัดที่มีการจัดงานและการประกวดร้องเพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในกรุงเทพเวลานั้น คือวัดภูเขาทองหรือวัดสระเกศ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ มีชื่อเสียง ทำให้ผู้คนนิยมมาเที่ยวชมงานมาก เมื่อการร้องเพลงได้รับความนิยมมากขึ้น จึงมีการจัดประกวดเรื่อยมาจนมีการนำเสนอผ่านทางโทรทัศน์ ต่อมาเมื่อความนิยมของรายการเพลงมากขึ้น จึงมีการจัดแข่งขันร้องเพลง ซึ่งได้รับความนิยมอย่างยิ่งจากผู้ชมชาวไทยเรื่อยมา เมื่อมีการแข่งขันก็มีผู้ชนะ ซึ่งผู้ชนะก็สามารถพลิกชีวิต มีชื่อเสียงเงินทองจากการประกวดได้ ที่ขาดไม่ได้เลยคือ ‘ความดราม่า’ ที่แฝงอยู่ตามรายการต่าง ๆ ซึ่งหลายครั้งได้กลายเป็นปัจจัยทำให้รายการฮิตเปรี้ยงขึ้นมาตัวรายการสนุกสนานทั้งในส่วนเนื้อหาการแข่งขัน ความเป็นดราม่าก็ทำให้เกิดจุดพีคของรายการไม่ต่างกับดูหนังหรือละคร โดยเฉพาะความดราม่าที่มาจากความยากจน การสู้ชีวิต ที่ทำให้ผู้ชมต้องคอยเอาใจช่วย รายการแข่งขันประเภท ดวลเพลงเพื่อชิงทุนการศึกษา การประกวดร้องเพื่อหมดหนี้ ได้นำเสนอเรื่องการสู้ชีวิต และเสริมความดราม่าเข้าไปในรายการ รายกายเหล่านี้อาจเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นว่า เด็กเยาวชนและครอบครัวส่วนหนึ่งมีปัญหาเรื่องรายได้ ทุนการศึกษา เป็นต้น เสียงเพลงที่เปล่งออกมาจึงไม่ใช่เพียงความรักในการร้องเพียงเท่านั้น แต่คือเสียงของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอีกด้วย การใช้เสียงเพลงของนักร้องท้องถิ่น ที่ขับกล่อมสังคมไทยทุกยุคทุกสมัย ไม่ใช่แค่ความบันเทิงเท่านั้น เบื้องหลังเสียงเพลง ยังนำมาซึ่งการมีชื่อเสียงนำมาสู่รายได้ และสิ่งที่ช่วยเลื่อนสถานะทางสังคมของผู้คนเสมอมา คุณอาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ นักประวัติศาสตร์ ผู้สนใจเพลงลูกทุ่งและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงสถานะทางสังคมในอดีต

อ่านต่อ »
future-beyond-bkk
บทความ

คนรุ่นใหม่กับอนาคตนอกเมืองหลวง (ตอน 1)

ความคาดหวังให้คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่กลับบ้านไปเป็นเกษตรกร หรือ หันหน้าออกสู่ต่างจังหวัดเพื่อเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ กลายเป็นกระแสสังคมที่มีให้เห็นผ่านตาอยู่เรื่อย ๆ เช่น ในโฆษณาประกันชีวิต  ในอดีตความไม่มีอะไรสักอย่างผลักคนต่างจังหวัดต้องออกไปแสวงหาโอกาสนอกบ้าน สู่ตลาดแรงงานหลากหลายวงการ มองไปในต่างจังหวัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับหมู่บ้าน ยิ่งมองไม่เห็นคนหนุ่มสาวและวิถีชีวิตสมัยใหม่ ธุรกิจร้านค้า การเกษตร ขาดคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่สืบทอด ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจในอนาคต บทความนี้ผู้เขียนไม่ได้เรียกร้องให้คนหนุ่มสาวกลับคืนถิ่น และไม่ได้คิดว่าการเคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่ของผู้คนเป็นปัญหา เพียงแต่เป็นการสำรวจความเป็นไปของวิถีชีวิตและหาความเป็นไปได้อื่น ๆ ในการทำความเข้าใจคนรุ่นใหม่กับอนาคตของพวกเขาที่อยู่นอกเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ  ASEAN Youth and the Future of Work สำรวจเยาวชนอายุต่ำกว่า 36 ปี พบว่าคนรุ่นใหม่มีความกระตือรือร้นอยากจะเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneur) มากขึ้น แทนที่จะใฝ่ฝันอยากจะเป็นข้าราชการและพนักงานบริษัท สำหรับประเทศไทยมีสัดส่วนคนรุ่นใหม่ใฝ่ฝันอยากเป็นผู้ประกอบการสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน ในทศวรรษที่ผ่านมาคนรุ่นใหม่เริ่มกลับต่างจังหวัด มีการทำธุรกิจส่วนตัวขนาดเล็กเพิ่มขึ้นพวกเขากลับท้องถิ่นด้วยทักษะผู้ประกอบการบางอย่าง สร้างทางเลือกหนึ่งให้กับชีวิต ขณะที่หลายคนกลับไปตั้งหลักที่ต่างจังหวัด แต่ต้องหวนกลับมาทำงานในเมืองหลวงเพื่อหาโอกาสใหม่อีกครั้ง คำถามคือการออกไปใช้ชีวิตนอกกรุงเทพฯ เหมาะสำหรับทุกคนหรือไม่ สำหรับคนที่ไม่มีต้นทุนเท่าไหร่นัก จะเป็นจริงและดำรงอยู่ได้อย่างไร ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจและเห็นความเป็นจริงอยู่นอกเมืองหลวงเสียก่อนแล้วอนาคตที่อยู่นอกกรุงเทพฯ หน้าตาเป็นอย่างไร ? งานภาพถ่ายศิลปะนิพนธ์ชิ้นหนึ่งชื่อ in my place ของณัฐวุฒิ เตจา ได้สำรวจตนเองผ่านพื้นที่บ้านเกิดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เล่าเรื่องการเดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อสำรวจตนเองในพื้นที่ที่เปลี่ยนไป พร้อมกับค้นหาคำตอบของความรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งต่อพื้นที่เพื่อสำรวจว่าที่ไหนกันแน่คือที่ของเรา เขาอธิบายว่า “ตั้งแต่เกิดจนเรียนจบมัธยมเราอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ สิ่งที่รู้สึกมาตลอดเลยคือไม่ชอบ อยากหนีออกไปให้ไกล แต่เมื่อเวลาล่วงผ่าน พื้นที่เปลี่ยนไปและสิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือความรู้สึกของเราที่มีต่อพื้นที่นี้ก็เปลี่ยนไปด้วย เมื่อได้มีโอกาสกลับมาอีกครั้งการบอกว่าไม่ชอบที่นี่ก็พูดออกไปได้ไม่เต็มปากเหมือนเดิมอีกแล้ว การกลับมาครั้งนี้ทำให้เรารู้สึกว่าที่นี่ก็ไม่ได้แย่เท่าไหร่นัก แต่ความรู้สึกนี้มันจะยั่งยืนหรือชั่วคราวก็ยังไม่มั่นใจ จนมาถึงตอนนี้จากความรู้สึกที่ยังไม่มั่นใจเปลี่ยนเป็นภาพที่บันทึกไว้มันทำให้มั่นใจแล้วว่าเราสามารถเป็นคนในพื้นที่นี้ในแบบของเราได้จริง ๆ” ผลงานนี้สะท้องถึงให้เห็นว่าชีวิตต่างในจังหวัดสำหรับหนุ่มสาวไม่ได้ง่าย มันไม่มีวิถีชีวิต (lifestyle) ที่เหมาะกับความต้องการของคนรุ่นใหม่ แต่อย่างน้อยก็มีความผูกพันบางอย่างว่ามันยังเป็น “พื้นที่ของเรา” ผู้เขียนได้สนทนากับ วีรวรรธน์ สมนึก หนุ่มนักข่าวอิสระในอีสาน ผู้เดินทางผลิตงานเขียนบนเว็บไซด์ ดิอีสานเด้อ (The Isaander) และผู้ร่วมก่อตั้ง Abdul Books ตั้งหลักชีวิตที่จังหวัดขอนแก่น เล่าถึงชีวิตนอกเมืองหลวงว่า ชีวิตต่างในจังหวัดไม่ได้ง่ายสำหรับคนที่ไม่มีต้นทุน สิ่งสำคัญที่คอยเตือนก็คือการไม่มองเห็นว่าต่างจังหวัดน่าอยู่และงดงาม ใคร ๆ ก็กลับไปพำนักอยู่ที่ต่างจังหวัดอย่างเรียบง่ายได้ ต่างจังหวัดในแต่ละจังหวัดก็มีความแตกต่างกัน อำภอเมืองหนองบัวลำภู คงไม่เหมือนกับอำเภอเมืองขอนแก่น ที่มีมีร้านหนังสือ มีโรงหนัง มี art space ที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตหนุ่มสาว  สำหรับหรับ Abdul Books มีเป้าหมายในการสร้างวัฒนธรรมการอ่าน และขยายฐานผู้อ่านหนังสือในต่างจังหวัด คนหนุ่มสาวที่ต้องการทำงานสร้างสรรค์และเป็นผู้ประกอบการในต่างจังหวัด ไม่สามารถยืนอยู่ได้เพียงลำพัง เมื่อตัดสินใจหันหลังให้เมืองแล้วภารกิจที่สำคัญสิ่งสำคัญยิ่งคือการสร้างชุมชนร่วมกันสร้างบรรยากาศและชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่เป็นฐานที่มั่นทางความคิดและความสร้างสรรค์ของผู้คนให้ได้ เช่นเดียวกับ Abdul Books ที่พยายามเป็นมากกว่าร้านหนังสือ เปิดพื้นที่ให้มีการเสวนา ฉายหนัง workshop นอกจากนี้ยังต้องสร้างเครือข่ายคนหนุ่มสาวที่ทำงานด้านอื่น ๆ ในละแวกใกล้เคียง เช่น art space ร้านไอติม ครูสอนหนังสือ เป็นต้น เพื่อสร้างชุมชนคนทำงานสร้างสรรค์ เพื่อร่วมกิจกรรมกันในอนาคต ผู้เขียนเห็นว่าเราไม่ควรมองว่าต่างจังหวัดจะดีงามหรือบ้านนอกอย่างตายตัว ชีวิตของผู้คนที่มีเคลื่อนย้ายของคน วัตถุสิ่งของและทุน ในโลกที่ข้อมูลข่าวสารไหลข้ามโลก และกระบวนการเคลื่อนย้ายในระดับท้องถิ่นขนาดเล็ก เช่น การเดินทางไปมาระหว่างวันที่สะดวกมากขึ้น เทคโนโลยีการสื่อสารที่ว่องไวที่กำลังจะเชื่อมโลกไว้ด้วยกัน ทำให้ผู้คนมีอิสระและมีความต้องการที่ซับซ้อนขึ้นกว่าที่เคย  ต่างจังหวัดไม่ใช่สังคมเกษตรกรรม และไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ การปรับตัวทางเศรษฐกิจของผู้คนไม่ได้อยู่บนฐานของการติดอยู่อยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หรือที่เรียกว่าแนวความคิด “การติดอยู่กับที่” (sedentarism) ที่มองงว่าหากไม่อยู่ที่ต่างจังหวัดก็ต้องย้ายถิ่นไปนอกพื้นที่ และต้องตัดขาดจากชีวิตทางเศรษฐกิจ ชีวิตของผู้คนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ มีความสลับซับซ้อนเกินกว่าจะนิยามว่าเขาฝากคนนาคตไว้ที่นี่ที่นั้น การดารงชีวิตทางเศรษฐกิจที่หลากหลายในห้วงเวลาเดียวกัน  ไม่ว่าชีวิตนอกกรุงเทพฯจะเป็นอย่างไร สิ่งที่สำคัญคือหน่วยงานรัฐได้เห็นถึงความสำคัญกับเรื่องนี้และสนใจจะแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างหรือไม่ บทเรียนจากญี่ปุ่นมีให้เห็น เช่นในปัจจุบันโตเกียวประสบปัญหาความหนาแน่นของประชากร ขณะที่หลายเมืองในชนบทญี่ปุ่นต้องรถร้าง โรงเรียนกว่า 7,000 แห่งต้องปิดตัวลง นำไปสู่การขาดแคลนแรงงานในชนบท เมื่อชนบทไม่มีคนหนุ่มสาวอาศัยอยู่ไม่มีความคิดใหม่ การพัฒนาแบบใหม่ รวมทั้งเศรษฐกิจในชนบทไม่ถูกขับเคลื่อน รัฐบาลญี่ปุ่นจูงใจคนหนุ่มสาวให้ออกจากโตเกียว ด้วยการเงิน 3,000,000 เยน หรือคิดเป็นเงินไทยเกือบ 900,000 บาท เพื่อให้ผู้คนโดยเฉพาะวัยทำงานเดินทางไปพักอาศัยหรือประกอบธุรกิจนอกโตเกียว  เรื่องของ“คนรุ่นใหม่กับอนาคตที่อยู่ข้างนอก” สะท้อนว่าไม่ควรมองเห็นศักยภาพและความเป็นไปได้ของบุคลเท่านั้น แต่จำเป็นต้องเห็นประเด็นเชิงโครงสร้างที่ผูกพันธ์กับการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น หากภาครัฐต้องการส่งเสริมให้คนหนุ่มสาวหันหลังให้เมืองใหญ่เพื่อสร้างเศรษฐกิจในต่างจังหวัด อาจเริ่มจากการทำความเข้าใจวิถีของคนหนุ่มสาว สร้างการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ในการออกแบบนโยบายท้องถิ่น ไม่ยึดติดหรือโรแมนติกกับการส่งเสริมด้านเกษตรกรรมเท่านั้น มีการสนับสนุนหลากหลายรูปแบบ และมองหาการยกระดับและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในท้องถิ่น รวมไปถึงนโยบายรัฐที่เอื้อต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและและการคมนาคมที่เพียงพอ โอกาสทางธุรกิจในระบบเศรษฐกิจต่าง ๆ แบบเปิดให้รายเล็กได้มีโอกาสเกิด มากกว่าการผูกขาดไว้กับทุนใหญ่ ดังนั้นแล้วอนาคตที่อยู่ข้างนอกไม่ได้หมายถึง “การกลับบ้าน” ในความหมายที่เป็นครอบครัวสิ่งปลูกสร้าง แต่หมายถึงชีวิตของผู้คนที่ยึดโยงโอกาสที่เกิดขึ้นและสามารถมองเห็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ  (โปรดติดตามตอนที่ 2) ข้อมูลอ้างอิง เจ้าสิเมือเฮือนมื้อได๋ : การกลับบ้านของลูกอีสาน บนเส้นทางของความสร้างสรรค์ https://qz.com/1472845/japans-government-is-considering-offering-cash-to-lure-people-away-from-tokyo ร้านหนังสือ Abdul Books  ตั้งอยู่ที่

อ่านต่อ »